โสม (ฮินดู)

โสม (ออกเสียง โสม หรือ โสมะ) (ภาษาสันสกฤต) หรือ เหาม (ภาษาอเวสตะ) มีรากศัพท์จากภาษาโปรโตอินเดีย-อิหร่าน "*sauma-" หมายถึง เครื่องดื่มที่ใช้ในพิธีกรรมโบราณ นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในวัฒนธรรมอินเดีย-อิหร่านยุคต้นๆ และภายหลังยังมีความสำคัญในวัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมพระเวท มักจะกล่าวถึงเสมอในฤคเวทซึ่งมีบทสวดหลายบทบรรยายถึงคุณสมบัติของโสมว่า ช่วยชูกำลัง และทำให้มึนเมา ในคัมภีร์อะเวสตะของเปอร์เซียโบราณ มีบทสวดหนึ่งหมวด เรียกว่า ยัษฏ์ (Yasht) มีเนื้อหากล่าวว่าถึง เหามะ ทั้งหมวด (มี 24 บทด้วยกัน)นอกจากนี้ ตามคติของฮินดู "โสม" ยังหมายถึงเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ด้วยในคัมภีร์พระเวท มีคำบรรยายถึงการเตรียมน้ำโสมเอาไว้ว่า ทำได้โดยการค้นน้ำจากลำต้นของไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นบนภูเขา ซึ่งนักวิชาการในชั้นหลังสันนิษฐานเอาไว้ต่างๆ นานา บ้างก็ว่าเป็นเห็ดเมา พืชเสพย์ติดจำพวกกัญชา หรือป่านเหลือง (Ephedra) ทั้งในวัฒนธรรมพระเวท และวัฒนธรรมโซโรอัสเตอร์ คำว่าโสมนี้ หมายถึง ทั้งพืช เครื่องดื่ม และยังเป็นบุคลาธิษฐาน หมายถึงเทพเจ้า ซึ่งทั้ง 3 นี้ก่อให้เกิดนัยสำคัญทางศาสนาและปรัมปราคติขึ้น